ถ้าพูดถึง Alibaba หลายคนก็คงจะนึกถึงตลาด E – commerce ขนาดใหญ่อย่าง Taobao อย่างแน่นอน เพราะ Taobao นั้นเป็นแพลตฟอร์มชอปปิ้งอันดับ 1 ของจีน ซึ่งช่วงที่ผ่านมานั้น Alibaba พยามที่จะขยายตัวสู่ตลาดโลกด้วยการค้าขายระหว่างจีนและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เพื่อประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเปิดกว้างและไร้ขอบเขต ซึ่ง Jack Ma นั้น ได้ตัดสินใจที่จะร่วมลงทุนกับประเทศไทยเป็นประเทศแรก ซึ่งปัจจุบันนั้น ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซของจีนเรียบร้อยแล้ว
สำหรับการพัฒนา E – commerce ในไทยนั้น จะมีการใช้กลยุทธ์ 3 รูปแบบในการพัฒนาเพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือ Go China ,Go Global ส่งเสริมสินค้าไทยเข้าตลาดจีนและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ผ่านแพลตฟอร์มของ Alibaba ,Go Thailand ประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย อาหาร และการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม Fliggy พร้อมสร้างประสบการ์ณการท่องเที่ยวแบบไร้เงินสดสำหรับนักท่องเที่ยวจีนด้วย Alipay และ Talent Development พัฒนาความรู้ด้านดิจิตอลแก่ผู้ประกอบการของไทยด้วย Alibaba business school
ปี 2557 มีการเปิดตัว Tmall Global เป็นแพลตฟอร์มออฟไลน์ที่เป็นส่วนต่อขยายของ Tmall ที่มีไว้สำหรับให้ผู้บริโภคสามารถเลือกชมสินค้าแบบจับต้องได้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เป็นการก่อตั้งร้านค้าขึ้นมา เพื่อรวบรวมสินค้าต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคสามารถเห็นสินค้าได้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ เครื่องดนตรี หรือสินค้าขายดีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความต้องการและสามารถตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ซึ่งปัจจุบันนั้น ท่ามกลางแบรนด์เครื่องสำอางชั้นนำจากทั่วโลก แบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังของไทยอย่างมิสทีน ก็ถือว่าเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และได้ถูกนำไปไว้ที่ร้าน Tmall Global ด้วยเช่นกัน
ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจและจัดหาผลิตภัณฑ์ของทาง Tmall เปิดเผยว่า ปัจจุบันนั้น แพลตฟอร์มออนไลน์ของ Tmall มีสินค้าจากต่างประเทศ ราว 18,000 แบรนด์จาก 70 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้นั้น มีสินค้าของไทยวางจำหน่ายอยู่ด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสเนลไวท์ หมอนยางพารา สาหร่ายเถ้าแก่น้อย เครื่องสำอาง มิสทีน และสินค้าจากคิงเพาเวอร์ ที่สำคัญคือ ผู้บริโภคกว่า 40% มักจะนิยมใช้สินค้าที่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ครั้งนี้จึงเป้นโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้ประกอบการค้าของไทยในการนำเข้าสินค้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของ Alibaba
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นการพัฒนาอย่างมากสำหรับ Alibaba คือการก่อตั้ง Rural Taobao เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และลดช่องว่างระหว่างคนเมืองกับชุมชน ซึ่งในเดือนตุลาคม 2557 Alibaba ได้เริ่มก่อตั้ง Rural Taobao เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาชนบทของจีนโดยเกษตรกรหรือชาวบ้านในพื้นที่นั้น ๆ จะสามารถนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอื่น ๆ เข้าสู่ระบบอนไลน์ได้ โดย Rural Taobao นั้น จะเป็นในลักษณะของศูนย์บริการ เพื่อลดปัญหาการเข้าถึงสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
Rural Taobao นั้นได้เปิดตัวทั้งหมด 26,000 สาขา โดยจะตั้งประจำอยู่ในแต่ละหมู่บ้านในเขตชุมชน โดยจะมีตัวแทน Taobao ชนบท คอยรับผิดชอบตามพื้นที่นั้น ๆ เพื่อดึงทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบนิเวศของ Alibaba มาใช้ ทั้งด้าน E – commerce การเงิน สุขภาพ ความบันเทิงต่าง ๆ รวมถึงการซื้อของออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม cun.taobao.com ที่ Alibaba สร้างไว้เพื่อ Rural Taobao โดยเฉพาะ ซึ่งหากจะอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ การก่อตั้ง Rural Taobao นั้นก็เพื่อให้ผู้ที่ห่างไกลจากเทคโนโลยีและการเข้าถึงของเว็บไซต์ Taobao นั้น มีโอกาสได้เข้าถึงตัวสินค้ามากขึ้นด้วยการนำสินค้าต่าง ๆ นั้นมาวางเพื่อให้ผู้บริโภคในเขตชุมชนสามารถเลือกชมสินค้าแบบจับต้องได้ และสามารถเลือกซื้อสินค้าเหล่านั้นได้เลยผ่าน cun.taobao.com ซึ่งในปัจจุบันนั้น Rural Taobao กลายเป็นโมเดลต้นแบบที่กระทรวงพาณิชย์นำไปจัดตั้งสถาบัน New Economy Academy (NEA) สำหรับพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยของไทยแล้วเรียบร้อย
ต้องยอมรับเลยว่าการพัฒนาธุรกิจ E- commerce ของ Alibaba นั้น มีการวางแผนในการพัฒนาที่ดีมากเลย ทั้งการพัฒนา Tmall และ Taobao ในการเพิ่มจำนวนผู้บริโภคจากกลุ่มคนในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับชาวบ้านในเขตชุมชนได้อีกด้วย