สาระน่ารู้ของจักรเย็บผ้า
ผ้าเป็นวัตถุดิบสำคัญที่มนุษย์นำไปใช้กันในหลายลักษณะโดยเฉพาะ การผลิตเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ อาทิเช่น เสื้อผ้า กางเกง กระโปรง หมวก ผ้าพันคอ เสื้อกันหนาว หรือเครื่องนุ่งห่มอื่น ๆ โดยสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้หากไม่มีสิ่งที่เรียกว่า จักรเย็บผ้า ในการผลิตเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ ให้ออกมาเป็นรูปร่าง ก็ไม่สามารถผลิตเสื้อผ้าได้สะดวกรวดเร็ว แม้ว่าในอดีตจะสามารถใช้วิธีอื่นได้โดยปัจจุบันหากเราขาดสิ่งที่เรียกว่าจักรเย็บผ้านี้ไป ก็ไม่อาจเกิดอุตสาหกรรมการผลิตที่สามารถผลิตได้ในปริมาณมากและ เราก็คงจะไม่ได้สวมใส่เสื้อผ้าที่มีรูปร่างขนาดที่เข้ากับขนาดตัวเราได้ สะดวก เพราะจักรเย็บผ้านั้นมีหน้าที่ในการขึ้นรูปผ้า ให้ออกมามีรูปร่าง ลักษณะเหมาะแก่การสวมใส่ หรือขึ้นรูปตามดีไซน์ที่กำหนดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ดังนั้น จักรเย็บผ้าจึงนับเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพล และแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารยะธรรมของมนุษย์ได้อย่างชัดเจน
จักรเย็บผ้าเป็นอุปกรณ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย โทมัส เวนท์ นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1790 ด้วยการประดิษฐ์ในครั้งนั้นเดิมทีแล้วมีจุดประสงค์ทำขึ้นเพื่อ ตัดเย็บเครื่องหนังพัดชาเท่านั้น แต่มันก็ไม่ได้เป็นที่ตอบรับเท่าไหร่ตราบจนมาถึงเมื่อปี ค.ศ 1831 บาร์เซเลนี ทิมโมนิแอร์ ช่างตัดเสื้อชาวฝรั่งเศส ผู้นี้ในตอนนั้นเขาได้มีความคิดที่อยากจะผลิตเสื้อผ้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เขาจึงได้เริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรสำหรับการเย็บผ้าขึ้นมา ซึ่งเครื่องจักรที่เขาผลิตขึ้นก็มีหน้าตาคล้ายกับจักรเย็บผ้าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จากนั้นต่อมาเครื่องจักรเย็บผ้าก็เริ่มได้มีการคิดค้นขึ้นและพัฒนาต่อยอดโดยผู้คนในหลาย ๆ ประเทศ ที่ช่วยต่อยอดวิวัฒนาการจักรเย็บผ้าให้มีความทันสมัยจนมาถึงปัจจุบันดังที่พบเห็นได้ทั่วไป
และสำหรับประเทศไทยเรานั้น ได้มีการนำเข้าจักรเย็บผ้าและเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2432 ต่อมาในปี พ.ศ.2482 จึงได้มีการใช้จักรขาใยแมงมุม โดยมีหลักฐานรูปภาพปรากฏอยู่ในพระที่นั่ง วิมานเมฆ จากนั้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จักรเย็บผ้าได้มีการพัฒนาให้เป็นแบบใช้หัวเข่ายกตีนผีและใช้เท้าถีบ เพื่อประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามแม้จักรเย็บผ้าจะมีการพัฒนามาแล้วหลายปี แต่จักรเย็บผ้าก็ยังถือเป็นเครื่องมือที่เสียหายง่ายเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้กลไกหลากหลายชิ้น จึงจำเป็นต้องมีการใช้งานอย่างถนอมรวมถึงการดูแลรักษาจักรเย็บผ้าหลังใช้งานอยู่เสมอ เพื่อให้อายุการใช้งานของจักรเย็บผ้านั้นยืนยาว
โดยวิธีการดูแลรักษา จักรเย็บผ้านั้นมีดังต่อไปนี้
1.หมั่นทำความสะอาดจักรเย็บผ้าทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ โดยนำแปรงปัดฝุ่นมาปัดฝุ่นบริเวณ ฟันจักรและเปลกระสวย จากนั้นนำสำลีทำความสะอาดตรงหัวจักร
2.หมั่นหยอดน้ำมันหลังการใช้งานอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ตามบริเวณรูสำหรับหยอดน้ำมันทั้งข้อเหวี่ยงและหัวจับ ประมาณ 1-2 หยด
3.หากต้องการเก็บจักรเย็บผ้าไว้เป็นเวลานาน ให้นำจารบีแบบใสมาทาลงไปในส่วนที่เป็นโลหะ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เพียงเท่านี้จักรเย็บผ้าก็จะสามารถอยู่คู่กับงานของคุณได้อย่างยืนนานมากเลยทีเดียว