สาระน่ารู้ของ ทรานซิสเตอร์
ทรานซิสเตอร์ถือเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้า หลากหลายชนิดทั่วโลกมาแต่ช้านาน โดยทรานซิสเตอร์นั้น ก่อเกิดขึ้นจากการต่อยอดพัฒนาอุปกรณ์ประเภท ไดโอด ให้แตกประเภทขึ้นมามีคุณสมบัติที่แตกต่าง ภายใต้จุดประสงค์เพื่อที่จะให้เกิดความสามารถ ในด้านการขยายสัญญาณเพิ่มปริมาณให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะอาศัยหลักการทำงานในขั้นตอนของการป้อนสัญญาณขนาดเล็กส่งไปยังทรานซิสเตอร์ และทรานซิสเตอร์นั้นก็จะช่วยเพิ่มขยายขนาดของสัญญาณในขาออก ให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ทรานซิสเตอร์ยังมีประโยชน์ในด้านการเป็นสารกึ่งตัวนำขยายสัญญาณไฟฟ้า หรือทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นวาล์วจ่ายสัญญาณไฟฟ้า ที่สามารถควบคุมการ เปิดปิด หรือคอยรักษาระดับความมั่นคงของค่าแรงดันไฟฟ้า อีกทั้งยังสามารถควบกล้ำสัญญาณไฟฟ้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้คุณสมบัติความเป็นสารกึ่งตัวนำที่มีอยู่ภายในทรานซิสเตอร์นั้นจะประกอบไปด้วยวัสดุหลากหลายประเภท อาทิเช่น แร่สังกะสี ทองแดง และเหล็ก ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีสารอีกบางชนิดที่จะไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า แต่จะคอยช่วยในด้านการเป็นฉนวนไฟฟ้า อาทิเช่น พลาสติก ยาง แก้ว อีกทั้งยังประกอบไปด้วยสารที่มีคุณสมบัติเป็นกึ่งตัวนำไฟฟ้า อาทิเช่น ซิลิคอน ที่สกัดหรือถลุงได้จากทรายซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในโลกและหาได้ง่าย
ซึ่งทรานซิสเตอร์จะอาศัยคุณสมบัติของแต่ละสารประกอบมาทำหน้าที่ตามเป้าหมายได้อย่างมีระบบ โดยนอกจากจะมีการนำสารเหล่านี้มาใช้ในทรานซิสเตอร์แล้ว ยังมีการนำไปใช้กับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นด้วย อย่างเช่น ไดโอด และวงจรไอซี และอื่น ๆ
ทั้งนี้ทรานซิสเตอร์ จะมีลูกรูปทรงที่หลากหลายแตกต่างกันไปหลายลักษณะ ในขณะที่แต่ละแบบนั้นก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน โดยประสิทธิภาพของการนำกระแสนั้นยังสามารถบ่งบอกได้จากขนาดของทรานซิสเตอร์ได้อีกด้วย ทรานซิสเตอร์ยิ่งมีขนาดใหญ่มากก็จะยิ่งสามารถมีกำลังนำกระแสได้มากตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เช่นกันที่จะสามารถเพิ่มกำลังให้กับทรานซิสเตอร์ได้มากยิ่งขึ้นกว่าอดีตแม้จะมีขนาดที่เล็กกว่าก็ตาม
สำหรับโครงสร้างภายในของทรานซิสเตอร์นั้น จะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำมาเชื่อมต่อกัน 3 ตัวอีกทั้งยังมีรอยต่อ 2 รอยและมีขา 3 ขายื่นออกมาจากสารกึ่งตัวนำนั้น โดยการแบ่งชนิดของทรานซิสเตอร์จะแบ่งตามลักษณะของโครงสร้างภายในพื้นฐาน อย่างไรก็ตามทรานซิสเตอร์จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเท่านั้น หากไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้ามาในตัวทรานซิสเตอร์นั้นก็จะไม่เกิดกระบวนการทำงานแต่อย่างใด
ซึ่งในปัจจุบันทรานซิสเตอร์ได้มีบทบาทสำคัญมาก ต่ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปไม่ว่าจะเป็น วิทยุทีวีหรือตู้เย็น รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉพาะทางอาทิเช่นอุปกรณ์เครื่องมือประกอบอาชีพหรืออุปกรณ์อุตสาหกรรม และยังเป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับอุปกรณ์ไอทีในโลกยุคใหม่หลายชนิดอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เกิดความทันสมัยและมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนวัตกรรมที่ล้ำหน้ามากยิ่งขึ้น จนไม่ต้องใช้ทรานซิสเตอร์แบบเดิม ๆ และสามารถเปลี่ยนไปใช้วัสดุไฮเทคชนิดใหม่ ๆ ได้ก็ตาม ทรานซิสเตอร์นั้นก็ยังคงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อเหตุผลทางการค้าพาณิชย์และเหตุผลทางการใช้งาน รวมถึงเหตุผลในอีกหลายเรื่องที่ทำให้ยังต้องถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะต้องมีอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกหลายหลากต่อไป