เคมีภัณฑ์
เชื่อหรือไม่ว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้นล้วนเกี่ยวข้องกับเคมีภัณฑ์ทั้งสิ้น เพราะว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวนั้นจัดว่าเป็นสารประกอบ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันก็อาจเกิดผลกระทบขึ้นได้ เพราะว่าสิ่งของบางอย่างที่มีเคมีภัณฑ์เป็นส่วนผสมนั้นก็เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ดังนั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ไว้บ้าง ควรเลือกอย่างไรถึงจะปลอดภัย
- ก่อนอื่นเลยต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของสารเคมีภัณฑ์เสียก่อน ใช้อย่างไรและจัดเก็บอย่างไร หากเป็นยาฆ่าแมลงหรือสเปรย์ก็ควรเก็บให้ห่างจากความร้อนเป็นต้นเพราะอาจทำให้ระเบิดได้
- ก่อนใช้เคมีภัณฑ์ทุกครั้งควรอ่านฉลากให้เข้าใจอย่างละเอียดถึงวิธีใช้
ก่อนใช้สารเคมีทุกชนิดต้องอ่านฉลากเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีใช้สาร
- ไม่ควรใช้เคมีภัณฑ์มากเกินความจำเป็นและต้องไม่ทิ้งลงถังขยะทั่วไป ควรแยกไว้และทิ้งใส่ถังที่เตรียมไว้ให้ เจ้าหน้าที่จะได้นำไปทำลายถูก
- ควรรู้จักสัญลักษณ์เกี่ยวกับสารที่เป็นอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงจากอันตราย
- หากมีการกลืนเคมีภัณฑ์ปะเภทอันตราย เช่น ยาฆ่าแมลงให้รีบดื่มนมสดหรือไข่ดิบตามเพื่อกันการตกตะกอนของสารพิษ จากนั้นควรนำส่งโรงพยาบาลทันที
- ถ้าถูกสารเคมีให้รีบล้างน้ำสะอาดทันที
- ไม่ควรกำจัดขยะประเภทพลาสติกโดยการเผา เนื่องจากเกิดไอเป็นพิษ
- สารประเภทโลหะเมื่อใช้แล้วควรเช็ดให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดสนิม
คำว่า เคมีภัณฑ์ ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมอุตสาหกรรมมากมายหลายอย่าง อุตสาหกรรมที่ทำเครื่องเคมีทั้งหลายจะผลิตผลสำเร็จรูป เช่น พลาสติก สี ยารักษาโรค ผงซักฟอก วัตถุระเบิด ไยเทียม สีย้อมผ้า และยาฆ่าแมลง เป็นต้น
สารเคมีพื้นฐานที่ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดคือกรดกำมะถัน ซึ่งใช้ในการผลิตทางเคมีมากมายตั้งแต่ปุ๋ยไปจนถึงเครื่องทำความสะอาดเหล็ก โซดาไฟ สบู่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก หรืออย่างแอมโมเนียก็ถือว่าเป็นเคมีภัณฑ์เช่นกัน แต่เป็นประเภทสารหนักที่ต้องมีการควบคุมโดยเฉพาะการใส่ในยารักษาโรค จะเห็นได้ว่าเคมีภัณฑ์อยู่ไม่ไกลจากเราเลย นอกจากนี้เคมีภัณฑ์ยังถูกใช้ผลิตวัตถุดิบหลายอย่างเช่น หิน แร่ ถ่านหินเป็นต้น รวมไปถึงพวกไม้ซุงและพืชยางชนิดอย่างเช่นน้ำมันดิบก็สำคัญกับอุตสาหกรรมเคมี เพราะสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบและเชื้อเพลิงได้
เคมีภัณฑ์ใช้ขบวนการทางเคมีต่าง ๆ หลายอย่างเพื่อจะเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ วิธีการหนึ่งที่เรียกว่าการทำให้แตกตัว คือ การทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบยุ่งยากซับซ้อนกลายเป็นสิ่งที่มีองค์ประกอบง่ายขึ้น อีกวิธีหนึ่งตรงกันข้าม คือ ทำให้วัตถุที่มีองค์ประกอบง่าย ๆ กลายเป็นวัตถุที่มีองค์ประกอบซับซ้อน (polymerization)
เคมีภัณฑ์ขบวนการทางฟิสิกส์ด้วย เช่น การประสม การกรอง การทำให้แห้ง ขบวนการเหล่านี้ช่วยทำให้วัตถุดิบมีประโยชน์ยิ่งขึ้น สำหรับทำผลิตภัณฑ์ทางเคมีและการค้า
งานค้นคว้าวิจัยก็ถือเป็นหัวใจของเคมีภัณฑ์ นักวิทยาศาสตร์จะเสาะหาขบวนการใหม่ๆ หรือที่ดียิ่งขึ้นไป เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือดียิ่งขึ้น ถ้ากรรมวิธีไหนดูท่าว่าจะดี วิศวกรเคมีก็จะทำการทดสอบดู เขาจะออกแบบอุปกรณ์และสร้างโรงงานเล็ก ๆ ขึ้นทดลองทำดูก่อน เมื่อได้ผลว่าดี ก็จะทำกันต่อไปและสร้างโรงงานขนาดใหญ่ขึ้นเต็มรูปเพื่อพัฒนาวงการเคมีภัณฑ์ให้ก้าวหน้า สร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้มีนวัตกรรมด้านเคมีภัณฑ์ที่ทันสมัยออกสู่ตลาดทั่วโลก